♥♥♥ยินดีต้อนรับสู่บล็อกของ Miss Wilaiporn Chinapak ♥♥♥

วันเสาร์ที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2555

วันที่ 12 ธันวาคม 2555

บันทึกครั้งที่6

กิจกรรมการเรียนการสอน

*อาจารย์ให้ทุกคนจับคู่กันแล้วไปหยิบกล่องมาไว้ในมือคนละ1ใบ แล้วเขียนว่าสามารถใช้สอนจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์ให้กับเด็กได้อย่างไร 
*หลังจากนั้นก็ให้จับกลุ่ม 10 คนประกอบกล่องให้เป็นรูปร่าง แล้วนำมาจัดเป็นนิทรรศการ

ภาพกิจกรรมการเรียนจากการนำสิ่งที่มีอยู่มาทำเป็นอะไรก็ได้ที่สามมารถนำมาสอน
ให้กับเด็กได้




















< สั่งงานชิ้นต่อไปส่งในสัปดาห์ต่อไป  ให้ตัดวัสดุจากกล่องลังเป็นวงกลม ที่มีเส้นขนาด
ผ่าศูนย์กลาง ขนาด 1นิ้ว 1.5 นิ้ว 2 นิ้ว อย่างละ 3 สี สีชมพู สีเหลืองและสีเขียนเข้ม รวมเป็น 9 ชิ้น
แต่ละสีแต่ละชิ้นขนาดจะไม่เท่ากัน


วันที่ 5 ธันวาคม 2555

บันทึกครั้งที่5

หยุดเรียนวันพ่อจึงไม่มีการเรียนการสอน





        
พ่อหลวงของแผ่นดิน


พ่อหลวงของแผ่นดิน

          ธ ทรงเป็นมิ่งขวัญปวงประชา 
        พระปรีชาพาประเทศก้าวหน้า
            โรงโคนมเป็นแนวทางพัฒนา    
          ข้าวในนาทดลองเพื่อเกษตรกร
:
                       ฝนหลวงโปรยลงมาคราครั้งใด 
             ชุ่มช่ำไปทั่วหย่อมหญ้าและสิงขร 
                การสื่อสาร...พลังงานแก๊สโซฮอล   
              ลดโลกร้อนทรงเริ่มเป็นแนวทาง
:
              เศรษฐกิจพอเพียง...ปรัชญา     
     ให้ประชาระวังในก้าวย่าง
                  องค์พ่อหลวงคงมั่นในสายกลาง     
              งานกว้างขวางพระเสโทหลั่งริน
:
                    ทั่วแผ่นดินพระองค์ทรงบุกบั่น         
             ทรงมุ่งมั่นเยือนประชาในทุกถิ่น
                      เหล่าประชาสรรเสริญพ่อของแผ่นดิน      
                            ตราบชีวินขอเทิดทูน...ทรงพระเจริญ      

วันศุกร์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2555

วันที่ 28 พฤศจิกายน 2555

บันทึกครั้งที่4

กิจกรรมการเรียนการสอน

ขอบข่ายของคณิตศาสตร์

  • การเรียงลำดับ
  • การจำแนก
  • ตัวเลข
  • การนับ
  • การจับคู่
  • รูปร่าง รูปทรง ปริมาตร
  • การจัดประเภท
  • การเปรียบเทียบ
  • เศษส่วน
  • รูปทรง และเนื้อที่
  • การจัดอันดับ
  • การวัด
  • เซต
  • การแบ่งกลุ่ม
ขอบข่ายของหลักสูตร
  • เนื้อหาคณิตศาสตร์หรือทักษะคณิตศาสตร์ ( นิตยา ประพฤติกิจ.2541:17-19 )
ดังต่อไปนี้
1. การนับ  เป็นคณิตศาสตร์เกี่ยวกับตัวเลขอันดับแรกที่เด็กรู้จักเป็นการนับอย่าง
มีความหมาย เช่น การนับอยากรู้จำนวน   การนับมีอยู่  2  ประเด็น คือ
           - การนับแบบปากเปล่า
           - การนับแบบอยากรู้จำนวน,รู้ค่า
2. ตัวเลข  เป็นสัญลักษณ์ที่แทนค่าจำนวนและแทนค่าลำดับ ตัวเลขจึงเป็นสัญลักษณ์
ทางคณิตศาสตร์เป็นตัวเลขฮินดูอารบิค ซึ่งสื่อสารออกเป็นภาษาที่ใช้สื่อสาร
3. การจับคู่ ( Matching ) จับคู่สิ่งที่เหมือนกัน เช่น ทางซ้ายมีร่ม,เก้าอี้ ทางขวามือมีเก้าอี้.ร่ม 
แล้วให้เด็กจับคู่ว่าร่มที่อยู้ข้างซ้ายมือจะจับคู่กับทางขวามืออะไร
4. การจัดประเภท ( Classificating ) ต้องกำหนดเกณฑ์ให้ชัดเจน
5. การเปรียบเทียบ ( Comparing ) การเปรียบเทียบความยาวความสั้น,ความหนาความบาง
6. การจัดอันดับ ( Ordering ) พอมีการเปรียบเทียบแล้วก็เอามาจัดอันดับของความยาวความสั้น
7. รูปทรงและเนื้อที่ ( Shoopeand  Space ) .ให้รูู้จักความลึกตื้น หนาบาง  กว้างแคบ 
ของรูปทรงและเนื้อที่
8. การวัด ( Measurement ) .ให้รู้จักความยาวและระยะ
9. เซต ( Set ) สิ่งที่อยู่รอบๆตัว เช่น รองเท้า เครื่องแต่งกาย  มีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกับสุขภาพ
10. เศษส่วน ( Fraction )

11. การทำตามแบบหรือละคลาย ( Paterning )
12. การอนุรักษ์หรือการคงที่ของปริมาณ ( Conservation ) ปริมาณของวัตถุ 
เด็กสามารถตอบได้หรือไม่

เยาวพา  เดชะดุปต์ ( 2542:87-88 ) ครูควรศึกษาเพื่อจัดประสบการณ์ให้เด็กดังนี้

1. การจัดกลุ่ม หรือเซต  สิ่งที่ควรสอนได้แก่ การจับคู่ 1:1 การจับคู่สิ่งของการรวบรวมกลุ่ม
 กลุ่มที่เท่ากันและความเข่าใจเกี่ยวกับตัวเลข
2.(การนับ) จำนวน 1-10 การฝึกนับ  1-10 จำนวนคู่ จำนวนคี่
3. ระบบจำนวน ( Number System ) และชื่อของตัวเลข 1= หนึ่ง 2=สอง
4. ความสัมพันธ์ระหว่างเซตต่างๆ เช่น เซตรวม  การแยกเซต ฯลฯ
5. คุณสมบัติของคณิตศาสตร์จากการรวมกลุ่ม ( Properties of Math )
6. ลำดับที่สำคัญ และประโยชย์คณิตศาสตร์ ได้แก่ ประโยคคณิตศาสตร์ที่แสดงถึงจำนวน
 ปริมาตร คุณภาพต่างๆ เช่น มาก-น้อย, สูง-ต่ำ(เตี้ย)
7. การวัด ( Measurement ) การวัดสิ่งที่เป็นของเหลว สิ่งของ เงินตรา อุณภูมิ รวมถึงมาตราส่วน
และเครื่องมือในการวัด
8. รูปทรงเรขาคณิต ได้แก่ การเปรียบเทียบ รูปร่าง ขนาด ระยะทาง เช่น รูปสิ่งของที่มีมิติ
ต่างๆจากการเล่นเกม และจากการศึกษาสิ่งที่อยู่รอบๆตัวเรา
9. สถิติและกราฟ ได้แก่ การศึกษาจากการบันทึกทำแผนภูมิ การเปรียบเทียบต่างๆ





  • อาจารย์ให้นักศึกษาจับคู่ทำงานส่ง โดยใด้วิเคราะห์ เช่น การนับ เราจะจัดกิจกรรมให้กับ
เด็กอย่าไร  ให้วิเคราะห์ของอาจารย์นิตยา ประพฤติกิจ  ( 12 ข้อ )

วันที่ 21 พฤศจิกายน 2555


บันทึกครั้งที่3

กิจกรรมการเรียนการสอน

1. อาจารย์ให้นักศึกษาทุกคนแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 4 คน โดยให้นั่งแยกกันเป็นกลุ่ม
แล้วร่วมกันสรุปงานใส่อีกแผ่นหนึ่งเพื่อส่งให้อาจารย์ 



วันเสาร์ที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

วันที่ 14 พฤศจิกายน 2555

บันทึกครั้งที่2

กิจกรรมการเรียนการสอน
  •  อาจารย์ให้วาดรูปประจำตัวเองและเขียนชื่อจริงใว้ใต้รูปแล้วใครมาก่อน 08:30 น.ให้ไปติดที่    กระดาน
  • ความสำคัญ  : คณิตศาสตร์จำเป็นที่จะต้องใช้ในชีวิตประจำวัน
ความสำคัญของคณิตศาสตร์
           คณิตศาสตร์เป็นสิ่งสร้างสรรค์จิตใจ  คำว่าคณิตศาสตร์ไม่ใช่หมายความเพียงตัวเลข ซึ่งเกี่ยวกับจำนวนต่าง ๆ
 และการคำนวณ  คณิตศาสตร์มีความหมายมากกว่าพีชคณิตที่จะศึกษาเพียงรูปร่างและขนาด  มีความหมายมากกว่าตรีโกณมิติซึ่งเกี่ยวกับการวัดระยะทาง  มีความหมายมากกว่าวิชาสถิติ และวิชาแคลคูลัส ฯลฯซึ่งสรุปได้ดังนี้
                            1.  คณิตศาสตร์เป็นวิชาที่เกี่ยวกับการคิด  เราใช้คณิตศาสตร์เพื่อพิสูจน์อย่างมีเหตุผลว่า ความคิด
ทั้งหลายนั้นเป็นความจริงหรือไม่  หรือเกือบจะเป็นจริง  ด้วยวิธีการคิดจะทำให้เราสามารถแก้ปัญหาในทางวิทยาศาสตร์  อุตสาหกรรมและอื่น ๆ คณิตศาสตร์ทำให้คนที่รักวิชานี้ กลายเป็นคนอยากรู้อยากเห็น
                            2.  คณิตศาสตร์เป็นภาษาอย่างหนึ่ง  คณิตศาสตร์เป็นภาษาที่กำหนดเทอม  สัญลักษณ์ที่รัดกุม  สื่อความหมายได้ถูกต้อง เป็นภาษาที่มีตัวอักษรแสดงความหมายแทนความคิด  เช่น  อักษรจีน เป็นสัญลักษณ์แทนความคิด  สมการ  3+5  =  8 ก็มีความหมายเช่นเดียวกัน  คือใช้แทนความคิด เรา ไม่ต้องคิดมากว่าจะอ่านอย่างไร พอเห็นเราก็ทราบ ยิ่งไปกว่านั้น  เราใช้อักษรแสดงความหมายแทนความคิดนี้ (ideograms)  เป็นเครื่องมือที่จะใช้ฝึกทางสมอง ซึ่งสามารถช่วยเราให้เกิดการกระทำในการคิดคำนวณ  การแก้ปัญหา การพิสูจน์ที่ยุ่งยากซับซ้อน ซึ่งถ้าเราใช้ภาษาธรรมดาก็ไม่สามารถที่จะทำได้
                            3.  คณิตศาสตร์เป็นโครงสร้างที่รวมของความรู้  โครงสร้างของคณิตศาสตร์บางทีก็คล้ายกับโครงสร้างของปรัชญา  และศาสตร์ที่เกี่ยวกับศาสนา เพราะเป็นโครงสร้างที่มีเหตุผล ซึ่งเริ่มต้นด้วยอนิยาม  จุด เส้น ระนาบในเชิงเรขาคณิต ซึ่งจะอธิบายข้อคิดต่าง ๆ ที่สำคัญ  เราจะเห็นว่าในวิชาเรขาคณิตก็มีเรื่องเกี่ยวกับสิ่งที่เห็นจริงแล้ว  สัจพจน์  คุณสมบัติ กฎ  ซึ่งทำให้เกิดความคิดที่จะเป็นรากฐานในการที่จะพิสูจน์เรื่องอื่นต่อไป
                           4.  คณิตศาสตร์เป็นการศึกษาเกี่ยวกับแบบแผน  ที่ว่ามีแบบแผนนั้น  หมายความว่าจะต้องคิดอยู่ในแบบแผน หรือความคิดที่ตั้งไว้  เช่น คลื่นวิทยุ  โครงสร้างของโมเลกุล ฯลฯ  เรื่องต่าง ๆ เหล่านี้จะต้องมีแบบแผนของมัน ที่จะจำแนกได้ในทางคณิตศาสตร์
                            5.  คณิตศาสตร์เป็นศิลปะอย่างหนึ่ง  คณิตศาสตร์เป็นศิลปะอย่างหนึ่งเหมือนกับศิลปะแขนงอื่น ๆ ความงามของคณิตศาสตร์ประกอบด้วยความมีระเบียบ และความกลมกลืนที่เกิดขึ้นภายใน  นักคณิตศาสตร์พยายามแสดงออกถึงค่าสูงสุด  ของความคิดและความสัมพันธ์  การสำรวจความคิดใหม่ ๆ ทางคณิตศาสตร์ เป็นสิ่งท้าทายให้เกิดความคิดสร้างสรรค์

  •   จากที่เอากระดาษไปติดที่กระดาน แล้วได้อะไรจากคณิตศาสตร์บ้าง  
                 -  รูปร่าง
                 -  รูปทรง
                 -  ขนาด                 
                 -  จำนวน   ก่อนที่เราจะรู้จักจำนวนเราก็ต้องมีการนับก่อนแล้วเราถึงจะรู้ว่า
จำนวนที่นับได้และจำนวนที่นับได้ให้เขียนเป็นเลขฮิลดูอาราบิกแทนค่าจำนวนนับ
  • สัญลักษณ์คณิตศาสตร์  คือ สัญลักษณ์ทางภาษา
  • การนับมีกี่แบบ
                -  การนับเรียงลำดับให้รู้ค่ารู้จำนวน
                -  การนับเพิ่มเป็นฐานของการบวก
                -  การนับลดเป็นฐานของการลบ
  • วิธิการนับ
                 -  นับออกเสียง
                 -  นับเลขในใจ
  • การบ้าน
         1. ไปดูหนังสือเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ว่ามีกี่เล่มอย่างน้อย 5 เล่ม
             -  ชื่อหนังสือ
             -  ชื่อผู้แต่ง
             -  ชื่อรหัสหนังสือ
             -  ปี พ.ศ. 
         2.  หยิบมา  1 เล่ม หาสิ่งที่เกี่ยวข้องหามาแค่ 1 คน
             -  ความหมาย
             -  อ้างอิง   ทฤษฎีการจัดประสบการณ์คณิตศาตร์ ( 1 คน )
             -  ขอบข่ายเนื้อหาของคณิตศาตร์ 1 คน ขอบข่าย คือเนื้อหาสาระ
             -  หลักการสอนคณิตศาสตร์

วันพฤหัสบดีที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

วันที่ 7 พฤศจิกยน 2555

บันทึกครั้งที่1

กิจกรรมการเรียนการสอน

ข้อตกลง

- ชี้แจงรายละเอียดของการเรียนการสอน
- สร้างข้อตกลงเรื่องการแต่งกายในวันที่มาเรียนวิชานี้ว่าจะใส่ชุดนักศึกษาหรือชุดพละ
  ก็มีการตกลงให้ใส่ชุดนักศึกษา  ถ้าจะใส่ชุดพละ วันนั้นต้องมีการเรียนการสอนเคลื่อนไหว
- ข้อที่ได้คอมเม้นท์ในเทอมที่ผ่านมานำมาปรับปรุ
งในเทอมนี้ แล้วชี้แจงให้นักศึกษา
  ใช้ภาษาให้ถูกและเหมาสม
- อาจารย์ชี้แจงวิธีการเรียนในวิชานี้ว่าทำอย่างไรถึงจะได้คะแนนเยอะ

กิจกรรม

1. การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยในแนวความคิดของนักศึกษา

     : คณิตศาสตร์ คือ การบวก ลบ คูณ หาร ที่ให้เด็กเรียนรู้ในทางอ้อม
     : การให้เด็กได้เรียนรู้ด้วยตนเอง เป็นการฝึกเด็กให้เรียนรู้เลข คำนวน
ในทางอ้อมจากการเล่นในชีวิตประจำวัน

สรุป


การสอนและการจัดประสบการณ์ ต่างกันอย่างไร

การสอน : ครูจะเป็นผู้เตรียมเนื้อหามาให้เด็กได้ศึกษาหาความรู้และ
                 เป็นผู้กำหนดจุดประสงค์หรือเป้าหมายให้กับเด็ก
การจัดประสบการณ์ : ครูจะเป็นผู้เตรียมการจัดประสบการณ์ให้กับเด็กแล้ว
                                   จัดนำเสนอในรูปแบบต่างๆจากนั้นก็จัดประสบการณ์ให้กับเด็ก
                                   แล้วเด็กก็จะเกิดการเรียนรู้ขึ้นได้ด้วยตนเอง
2. วิชา การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย คาดหวังว่า....
      1. เรียนแล้วสามารถนำไปจัดกิจกรรมให้กับเด็กได้มากน้อยเพียงใด
      2. มีเทคนิคอย่างไรบ้างที่สามารถนำไปจัดกิจกรรมให้กับเด็กได้สูงสุดและมีประสิทธิภาพ
      3. เรียนแล้วสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันหรือในอนาคตข้างหน้าได้อย่ามีประสิทธิภาพ

กิจกรรมหลัก 6 กิจกรรม


1. กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ เป็นกิจกรรมที่จัดให้เด็กได้เคลื่อนไหวส่วนต่าง ๆ

ของร่างกายอย่างอิสระตามจังหวะ ซึ่งจังหวะและดนตรีที่ใช้ประกอบได้แก่ เสียงตบมือ
เสียงเพลง เสียงเคาะไม้ เคาะเหล็ก รำมะนา กลอง ฯลฯ
2. กิจกรรมสร้างสรรค์ เป็นกิจกรรมเกี่ยวกับงานศิลปศึกษาต่าง ๆ ได้แก่
 การวาดภาพระบายสี การปั้น การพิมพ์ภาพ การพับ ตัด ฉีก ปะ และประดิษฐุ์เศษวัสดุ
 ที่มุ่งพัฒนากระบวนการคิดสร้างสรรค์ การรับรู้เกี่ยวกับความงามและส่งเสริมกระตุ้นให้เด็กแต่ละคน
ได้แสดงออกตามความรู้สึกและความสามารถของตนเอง
3. กิจกรรมเสรี เป็นกิจกรรมที่จัดให้เด็กได้เล่นกับสื่อและเครื่องเล่นอย่างอิสระในมุมการเล่นกิจกรรมการเล่นแต่ละประเภทสนองตอบความต้องการตามธรรมชาติของเด็ก
4. กิจกรรมเสริมประสบการณ์ เป็นกิจกรรมที่จัดให้เด็กได้ฟัง พูด สังเกต คิด และปฏิบัติการทดลอง
 ให้เกิดความคิดรวบยอดและเพิ่มพูนทักษะต่าง ๆ ด้วยวิธีการหลากหลาย เช่น การสนทนา
ซักถามหรืออภิปราย สังเกต ทัศนศึกษา และปฏิบัติการทดลองตามกระบวนการเรียนรู้
5. กิจกรรมกลางแจ้ง เป็นกิจกรรมที่จัดให้เด็กได้ออกนอกห้องเรียนไปสู่สนามเด็กเล่นทั้งที่บริเวณกลางแจ้งและในร่มเพื่อเปิดโอกาสให้เด็กได้แสดงออกอย่างอิสระ โดยยึดเอาความสนใจ และความสามารถของเด็กแต่ละคนเป็นหลัก
6. กิจกรรมเกมการศึกษา เป็นกิจกรรมการเล่นที่มีกระบวนการในการเล่นตามชนิดของเกมประเภทต่าง ๆเพื่อให้เกิดการเรียนรู้และความคิดรวบยอดเกี่ยวกับสิ่งที่เรียน


อ้างอิงมาจาก: แผนการจัดประสบการณ์ ชั้นอนุบาลปีที่ 1 สำนักงานคณะกรรมการการปถมศึกษาแห่งชาติ กระทรวงศึกษาธิการ